top of page
Writer's picturepayungsakk3

"กลีบเลี้ยง"ความมหัศจรรย์ และ หน้าที่สำคัญ

คุณเคยได้ยินหรือรู้จัก"กลีบเลี้ยง"หรือไม่ คิดง่ายๆว่าเหมือนคุณห่อของด้วยพลาสติกกันกระแทก (ที่เราชอบเอามาบีบให้ดังแป๊ะๆ)

กลีบเลี้ยงนั้นก็เปรียบเสมือนพลาสติกกันกระแทกนั้น หน้าที่ของมันคือการปกป้องการกระแทกที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการขนส่ง ดังนั้นเมื่อมีหน้าที่ปกป้อง กลีบเลี้ยงจึงอยู่ดอกนอกสุดของดอกกุหลาบ

ซึ่งกลีบเลี้ยงนั้นไม่ใช่ว่าจะพบได้กับดอกกุหลาบทุกประเภท แต่จะพบได้เป็นปกติกับกุหลาบสวน เช่น กุหลาบอังกฤษ อย่าง เดวิด ออสติน (David Austin) ซึ่งกลีบเลี้ยงก็สามารถพบได้บ้างในกุหลาบเคนย่า (Kenyan Rose) กุหลาบเอกวาดอร์ (Ecuador Rose) กุหลาบฮอลแลนด์ (Holland Rose)

เหตุที่กลีบเลี้ยงสามารถพบได้ในกุหลาบสวน เช่น กุหลาบอังกฤษ นั้น ก็เพราะว่า กุหลาบเหล่านี้มักจะมีกลีบซ้อนด้านในค่อนข้างเยอะกว่ากุหลาบทั่วไป เพราะฉะนั้นกลีบเลี้ยงจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะคอยปกป้องกลีบอื่นๆที่อยู่ด้านใน

และเมื่อกลีบเลี้ยงนั้นได้ทำหน้าที่ปกป้องกลีบอื่นๆจากการกระแทกแล้ว ก็จะกลายเป็นรอยช้ำสีเขียวบ้างสีน้ำตาลบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของธรรมชาติ (ตามรูปด้านล่าง)

กลีบเลี้ยง Guard Petal

โดยปกติแล้วเมื่อกุหลาบบานออก เราก็จะไม่เห็นกลีบเลี้ยง เพราะเมื่อกุหลาบบาน ดอกที่อยู่ด้านนอกก็จะกลายเป็นฐานของดอกอื่นๆ แต่ถ้าคุณรอกุหลาบบานไม่ได้เพราะต้องรีบใช้งาน คุณก็สามารถจัดการกับกลีบเลี้ยงได้ง่ายตามลิ้งค์นี้ => CLICK

ดังนั้นเวลาที่คุณเห็นว่าดอกกุหลาบโดยเฉพาะกุหลาบสวนมีกลีบช้ำ ไม่ได้แสดงว่าดอกกุหลาบนั้นเก่าหรือกำลังจะเหี่ยว แต่เป็นการทำหน้าที่ที่สำคัญของกลีบเลี้ยงแล้วนั่นเอง (เพื่อความมั่นใจ กรุณาถามวันที่ดอกไม้มากับเราได้ค่ะ)

สามารถพูดคุยเพิ่มเติมกับเราได้ที่....

เบอร์ : 095-372-2224

Line : @penlert_de_fleur

Flower Market: ทองหล่อ, ซอยธารารมณ์ 2

เป็นเลิศ เดอ เฟลอร์ (Penlert De Fleur) ผู้นำเข้าดอกกุหลาบและดอกไม้คุณภาพ

สามารถแชร์บทความนี้ได้จากไอค่อนด้านล่างค่ะ

bottom of page